วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559

สรรพคุณของเสาวรส


เสาวรส


เสาวรส

เสาวรส ชื่อสามัญ Passion Fruit, Jamaica honey-suckle, Yellow granadilla
เสาวรส ชื่อวิทยาศาสตร์ Passiflora edulis Sims จัดอยู่ในวงศ์กะทกรก (PASSIFLORACEAE)
เสาวรส (กะทกรกฝรั่ง) เป็นผลไม้เพื่อสุขภาพชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกาใต้ ผลมีลักษณะกลม ผลอ่อนจะมีสีเขียว แต่เมื่อสุกแล้วจะมีหลายสีแล้วแต่สายพันธุ์ คือ สีม่วง สีเหลือง สีส้ม ซึ่งในบ้านเรานี้จะปลูกทั้ง 3 สายพันธุ์ โดยในผลเสาวรสนั้นจะมีเมล็ดจำนวนมาก มีกลิ่นคล้ายฝรั่งสุก รสออกเปรี้ยวจัด แต่บางสายพันธุ์จะมีรสออกอมหวานด้วย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เสาวรส

                  สำหรับประโยชน์ของเสาวรสและสรรพคุณของเสาวรสนั้นก็มีมากมายหลายข้อ เพราะ เสาวรสอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุรวมอยู่หลายชนิด ซึ่งได้แก่ วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี2 วิตามินบี3 กรดโฟลิก ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุสังกะสี และ คาร์โบไฮเดรต โดยยังมีของแถมนั่นก็คือ ใยอาหาร ในปริมาณสูงรวมอยู่ด้วย ซึ่งนิยมนำมารับประทานเป็นผลไม้สด โดยเสาวรสที่ลักษณะดีนั้นต้องไม่เหี่ยว ผิวต้องเต่งตึง แต่ทั้งนี้ห้ามรับประทานในส่วนของต้นสดเด็ดขาด เพราะมีสารพิษอันตราย อาจทำให้เสียชีวิตได้ รอรับประทานผลอย่างเดียวจะดีกว่า

ประโยชน์ของเสาวรส

  1. เสาวรส ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส
  2. ช่วยในการชะลอวัย ชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง
  4. ช่วยในการบำรุงสายตา เนื่องจากมีวิตามินเอรวมอยู่ด้วย
  5. น้ำเสาวรสช่วยให้นอนหลับสบายมากยิ่งขึ้น
  6. น้ำเสาวรสช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย
  7. มีวิตามินบี2 ซึ่งช่วยบำรุงผิวพรรณ เล็บ และเส้นผม
  8. มีแคลเซียมซึ่งมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกเสื่อมและกระดูกหัก
  9. มีโพแทสเซียมสูงสูง ที่ช่วยให้มีสติปัญญา จิตใจร่าเริงแจ่มใส ด้วยการส่งออกซิเจนไปเลี้ยงที่สมอง
  10. มีแมกนีเซียม ซึ่งช่วยในการเผาผลาญไขมันและเปลี่ยนเป็นพลังงาน
  11. มีฟอสฟอรัสสูง ซึ่งช่วยส่งเสริมสุขภาพเหงือกและฟันให้แข็งแรง
  12. นิยมนำมาดื่มเป็นน้ำผลไม้ หรือใช้เป็นส่วนผสมในน้ำผลไม้รวม
  13. ใช้ทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น สำหรับวิธีทำน้ําเสาวรส อย่างแรกให้เตรียม เสาวรสที่สุกแล้ว 3 ลูก / น้ำเชื่อมครึ่งถ้วย / เกลือป่นหนึ่งช้อนโต๊ะ / น้ำต้มสุกแช่เย็นหนึ่งถ้วย หลังจากนั้นนำเสาวรสไปล้างให้สะอาดทั้งเปลือก แล้วนำมาผ่าครึ่งตามขวาง แล้วนำช้อนตักเมล็ดเนื้อเสาวรส น้ำออกให้หมด แล้วนำมาปั่นกับน้ำต้มสุกจนละเอียด แล้วกรองกากและเมล็ดออกด้วยการใช้ผ้าขาวบางหรือกระชอน หลังจากนั้นนำน้ำเสาวรสที่กรองเรียบร้อยแล้วลงในเครื่องปั่น ใส่น้ำเชื่อม เกลือป่น นำแข็งตามลงไปปั่น เสร็จแล้วก็จะได้น้ำเสาวรสฝีมือของเราแล้ว
  14. เสาวรส
    นำมาใช้แต่งกลิ่นหรือรสชาติในโยเกิร์ต น้ำอัดลม เป็นต้น
  15. เนื้อเสาวรสนำไปทำขนมได้หลายชนิด เช่น เค้ก แยม เยลลี่ ไอศกรีม เป็นต้น
  16. ใช้นำไปประกอบของหวาน เช่น นำเมล็ดเสาวรสมาใช้แต่งหน้าเค้ก
  17. ใช้นำมาประกอบอาหาร เช่น การนำยอดเสาวรสไปแกงหรือกินกับน้ำพริก
  18. เมล็ดของเสาวรสสามารถนำไปสกัดเป็นน้ำมันพืชได้
  19. ใช้ทำเนยเทียม จากเมล็ดเสาวรส
  20. ใช้เป็นอาหารสัตว์ ด้วยการนำเปลือกไปสกัดสารเพกทินหรือนำมาตากแห้ง
  21. เปลือกเสาวรสสามารถนำมาใช้ทำปุ๋ยหมักได้
  22. ใช้ทำเป็นน้ำมันนวดผ่อนคลาย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เนื่องจากมีคุณสมบัติในการช่วยผ่อนคลายได้ดี
  23. ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางเช่น ผลิตภัณฑ์กันแดด ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ผลิตภัณฑ์รักษาสิว เป็นต้น
  24. ช่วยในการสมานผิวรักษาเนื้อเยื่อผิวหนัง
  25. ช่วยปรับสมดุลในร่างกายและลดอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
  26. ที่เปอร์โตริโก นิยมนำเสาวรสมาใช้ในการลดความดันโลหิต
  27. ช่วยบรรเทาอาการโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  28. ช่วยในการฟื้นฟูตับและไตให้มีสุขภาพแข็งแรง
  29. ช่วยในการกำจัดสารพิษในเลือด
  30. ช่วยบรรเทาอาการปวด
  31. ช่วยในการบำรุงปอด
  32. ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
  33. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  34. ช่วยรักษาอาการหอบหืด
  35. ใบสดนำมาใช้พอกแก้หิดได้
  36. ดอกใช้ขับเสมหะ ช่วยแก้ไอได้
  37. เมล็ดมีสารที่ทำหน้ายับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ดี

สรรพคุณของมะละกอ


มะละกอ




มะละกอ

มะละกอ ชื่อสามัญ Papaya
มะละกอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Carica papaya L. จัดอยู่ในวงศ์มะละกอ (CARICACEAE)
มะละกอเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีต้นกำเนิดจากอเมริกากลาง เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทาน มากในบ้านเรา ด้วยการรับประทานสด ๆ หรือนำมาประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้ มะละกอนั้นจัดว่าเป็นไม้ล้มลุก (หลาย ๆ คนมักเข้าใจผิดว่า เป็นไม้ยืนต้น)


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มะละกอ



             ประโยชน์ของมะละกอนั้นก็มีค่อนข้างมาก มีสรรพคุณเป็นทั้งยารักษาโรค โดยสรรพคุณมะละกอก็เช่น ใช้เป็นยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด เป็นต้น และยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน เป็นต้น
แต่มีคำแนะนำว่า ไม่ควรรับประทานมะละกอที่สุกในปริมาณมาก ๆ หรือติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจจะทำให้ผิวของคุณเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้

ประโยชน์ของมะละกอ

  1. มะละกอมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอยู่หลายชนิด ซึ่งช่วยให้สุขภาพของคุณแข็งแรง
  2. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสอยู่เสมอ
  3. ช่วยในการชะลอวัย ลดเลือนและป้องกันการเกิดริ้วรอยต่าง ๆ
  4. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
  5. สามารถนำมาใช้เป็นทรีทเม้นท์ทำหน้าให้หน้าใสได้อีกด้วย ด้วยการนำมะละกอสุกผสมกับน้ำผึ้งและนมสด แล้วนำมาปั่นให้เข้ากัน หลังจากนั้นนำมาทาผิวหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วค่อยล้างออก
  6. ใช้นำมารับประทานเป็นผลไม้หรือของว่าง
  7. ใช้นำมาปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงส้ม ส้มตำ เป็นต้น
  8. สามารถนำมะละกอไปใช้หมักให้เนื้อนุ่มได้อีกด้วย เพราะมีเอนไซม์ที่ชื่อว่า Papain ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผงหมักสำเร็จรูปที่เราเห็นขายกันอยู่ตามท้องตลาดนั่นเอง
  9. นำมาแปรรูป การแปรรูปมะละกอ เช่น มะละกอแช่อิ่ม มะละกอแผ่น แยมมะละกอ มะละกอเชื่อม ซอสมะละกอ เยลลี่มะละกอ มะละกอแช่อิ่ม มะละกอสามรส มะละกอดอง มะละกอผง เป็นต้น
  10. มีส่วนช่วยกระตุ้นให้มารดามีน้ำนมมากขึ้น
  11. มะละกอ มีส่วนช่วยในการบำรุงประสาทและสมอง
  12. มะละกอ มีเอนไซม์ที่เป็นยาช่วยย่อยอาหาร
  13. ช่วยป้องกันลักปิดลักเปิด หรือเลือดออกตามไรฟันได้
  14. ช่วยรักษาอาการขัดเบา ด้วยการใช้รากสดประมาณ 1 กำมือ รากแห้งอีกครึ่งกำมือ หั่นแล้วนำมาต้มกับน้ำ แล้วนำน้ำมาดื่มวันละ 3 ครั้งก่อนมื้ออาหาร
  15. เป็นยาระบายอ่อน ๆ แก้อาการท้องผูก ด้วยการกินเนื้อมะละกอสุก
  16. ช่วยในการย่อยอาหาร
  17. ใช้ฆ่าพยาธิ ด้วยการใช้ยางจากผลดิบซึ่งเป็นยาช่วยย่อยโปรตีน
  18. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา จากรากมะละกอ
  19. ช่วยป้องกันการเกิดโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
  20. ช่วยรักษาอาการเท้าบวม ด้วยนำใบมะละกอสด ๆนำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับเหล้าขาว แล้วนำมาพอกตรงบริเวณนั้น ๆ
  21. ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอก ด้วยใช้รากมะละกอนำมาตำให้แหลกแล้วผสมกับเหล้าขาว แล้วนำมาทาบริเวณนั้น ๆ
  22. ใช้รักษาอาการผดผื่นคันขึ้นตามลำตัว ด้วยใช้ใบมะละกอ 1 ใบ เกลือ 1 ช้อนชา น้ำมะนาวจำนวน 2 ผล นำมาตำรวมกันให้ละเอียดแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นผดผื่น
  23. ช่วยรักษาโรคกลาก เกลื้อน เท้าเปื่อย ด้วยการใช้ยางมะละกอดิบมาทาวันละ 3 ครั้ง จะสามารถช่วยฆ่าเชื้อราได้
  24. ช่วยรักษาอาการคันอันเกิดมาจากพิษของหอยคัน ด้วยการใช้ยางมะละกอดิบ ๆนำมาทาทั้งเช้าและเย็น
  25. หากโดนเสี้ยนหรือหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน หากนำยางมะละกอดิบมาทาหนามจะหลุดออกมา แต่ให้บ่งเปิดปากแผลก่อน
  26. หากโดนตะปูตำเท้าเป็นแผล ให้นำผิวของลูกมะละกอดิบมาตำแล้วนำมาพอกแผล โดยเปลี่ยนใหม่วันละ 2 ครั้ง
  27. ช่วยรักษาแผลพุพอง อักเสบ ด้วยการใช้ใบมะละกอที่แห้งกรอบนำมาบดให้เป็นผง นำไปผสมกับน้ำกะทิผสมให้พอเหนียว แล้วนำมาทาแผลวันละ 3 ครั้ง
  28. ใช้รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้เนื้อมะละกอดิบ ๆ นำมาต้มจนเปื่อย ๆ นำมาตำแล้วนำมาพอกบริเวณบาดแผล
  29. ใช้รักษาอาการปวดหลังปวดข้อต่าง ๆ ด้วยรับประทานมะละกอสุกอย่างต่อเนื่องจะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้
  30. ช่วยรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้อไม่มีแรง ด้วยการใช้รากมะละกอตัวผู้นำมาแช่เหล้าขาวทิ้งไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำมาบริเวณที่ตามกล้ามเนื้อ หรือบริเวณที่กล้ามเนื้ออ่อน แรง
  31. ช่วยลดอาการปวดบวม ด้วยการนำใบมะละกอสด ๆ ไปย่างไฟหรือใช้น้ำร้อนลวก แล้วนำมาประคบบริเวณที่มีอาการ หรือนำมาตำให้พอพยาบแล้วห่อด้วยผ้าขาวบางนำมาทำเป็นลูก ประคบก็ใช้ได้เหมือนกัน
  32. ช่วยป้องกันการเกิดอาการตับโต หรือโรคที่เดียวกับตับ
  33. เป็นยาช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง
  34. มีงานวิจัยมะละกอพบว่า การรับประทานมะละกอเป็นประจำมีส่วนช่วยในการต่อต้านโรคมะเร็งได้

ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่

มะม่วงหาวมะนาวโห่




มะม่วงหาวมะนาวโห่


มะม่วงหาวมะนาวโห่ ชื่อสามัญ Bengal-Currants, Carandas-plum, Karanda
มะม่วงหาวมะนาวโห่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Carissa carandas L. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE)
สมุนไพรมะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นชื่อที่เพี้ยนมาจากชื่อ “มะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไม่รู้โห่” พรรณไม้ชนิดนี้มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หนามขี้แฮด (เชียงใหม่), หนามแดง (กรุงเทพฯ), มะนาวไม่รู้โห่ (ภาคกลาง), มะนาวโห่ (ภาคใต้) เป็นต้น
มะม่วงหาวมะนาวโห่จัดเป็นผลไม้สมุนไพรชนิดหนึ่ง ลักษณะของผลจะมีสีแดงเรียวเล็กคล้ายกับมะเขือเทศราชินี สำหรับรสชาติของผลสุกจะออกหวานนุ่มลิ้น แต่ถ้ายังไม่สุกจีรสเปรี้ยวจี๊ดเข็ดฟัน มี ธาตุเหล็ก และ วิตามินซี สูง เมื่อกัดไปแล้วจะมียางเหนียว ๆ ฝาดคอ (เป็นผลไม้ในวรรณคดีเรื่องพระรถเมรี “นางสิบสอง” ใครเคยอ่านคงทราบกันดี)
มะนาวไม่รู้โห่ หรือ หนามแดง เป็นผลไม้ที่หลาย ๆ คนมองข้าม เนื่องจากเป็นพรรณไม้มีหนาม หลายคนไม่รู้สรรพคุณก็ฟันทิ้งกันไปส่วนใหญ่ จึงทำให้ปัจจุบันค่อนข้างหามารับประทานได้ยาก นอกจากคนที่รู้เท่านั้นที่นำมาปลูกไว้ สำหรับคนโบราณแล้วผลไม้ชนิดนี้ถือว่ามีคุณประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะเป็นมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพรซึ่งมีสรรพคุณที่หลากหลายในการช่วยซ่อมแซมร่างกายและช่วยรักษาโรคได้แทบทุกชนิด สำหรับวิธีกินก็นำมาล้างให้สะอาดแล้วรับประทานกันสดได้เลยครับ
นอกจากผลแล้วส่วนอื่น ๆ ก็ยังมีประโยชน์อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นราก ใบ ยอดอ่อน เมล็ด เนื้อไม้ และแก่น ก็ล้วนแต่มีสรรพคุณทางยาทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้กระทั่งยางก็ช่วยในการสมานแผลได้ เรียกได้ว่าแทบจะทุกส่วนจริง ๆ แล้วเราจะไม่เรียกหนามแดงว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยซ่อมแซมร่างกายได้ยังไง
สำหรับผู้ที่รับประทานผลเข้าไปแล้วประมาณ 10 นาที แล้วรู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก แสดงว่าคุณอาจเป็นโรคหัวใจโต ควรรับประทานวันละ 1 ผลเพื่อให้ร่างกายปรับสภาพจนชินก่อน เมื่อไม่มีอาการแล้วค่อยเพิ่มปริมาณเป็น 10 ผล รับประทานประมาณ 3 เดือนจะทำให้เลือดลมไหลเวียนดี โดยหญิงชายกินได้โรคภัยหายสิ้น แต่สำหรับหญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มะม่วงหาวมะนาวโห่



สรรพคุณของมะม่วงหาวมะนาวโห่

  1. มะม่วงหาวมะนาวโห่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอย (ผล)
  2. ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง (แก่น)
  3. แก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า (เนื้อไม้)
  4. เพิ่มความกระชุ่มกระชวยให้กับร่างกาย (ผล)
  5. ช่วยให้เจริญอาหาร (ราก)
  6. มีส่วนช่วยลดความอ้วน (ผล)
  7. ช่วยขยายหลอดเลือดป้องกันการเกิดโรคหัวใจ (ผล)
  8. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (ผล)
  9. ธาตุเหล็กในผลมีส่วนช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ผล)
  10. มีส่วนช่วยรักษาโรคโลหิตจาง (ผล)
  11. ช่วยรักษาโรคปอด (ผล)
  12. ช่วยรักษาโรคถุงลมโป่งจากการสูบบุหรี่ได้ดีมาก (ผล)
  13. ช่วยรักษาโรคไต (ผล)
  14. บรรเทาอาการของโรคตับ อย่างโรคตับแข็ง (ผล)
  15. ช่วยรักษาโรคเกาต์ (ผล)
  16. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคไทรอยด์ (ผล)
  17. ช่วยป้องกันโรคไหลตาย (ผล)
  18. ในบังคลาเทศใช้ใบรักษาโรคลมชัก (ใบ)
  19. มีส่วนช่วยบรรเทาอาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต มือเท้าชา (ผล)
  20. ช่วยบำรุงกำลัง (เนื้อไม้)
  21. ช่วยบำรุงธาตุ (ราก,แก่น,เนื้อไม้)
  22. ช่วยบำรุงไขมันในร่างกาย (แก่น,เนื้อไม้)
  23. ช่วยแก้ไข้ รวมถึงไข้มาลาเลีย (ราก,ใบ)
  24. ช่วยดับพิษร้อน (ราก)
  25. ช่วยบรรเทาอาการของโรคภูิแพ้ (ผล)
  26. ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ (ผล)
  27. ช่วยขับเสมหะ (ผล)
  28. มีช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน
  29. แก้อาการเจ็บคอ เจ็บในปาก (ใบ)
  30. แก้อาการปวดหู (ใบ)
  31. ช่วยรักษาลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟัน สมานแผลในช่องปาก (ผล)
  32. ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร (ราก)
  33. แก้อาการท้องเสีย (ใบ)
  34. มะม่วงหาวมะนาวโห่
    ช่วยรักษาโรคบิด (ใบ)
  35. ช่วยขับปัสสาวะ (ผล)
  36. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ยอดอ่อน)
  37. ช่วยขับพยาธิ (ราก)
  38. ช่วยรักษาโรคเท้าช้าง (น้ำยาง)
  39. ช่วยฆ่าเชื้อ (ผล)
  40. ผลสุกใช้ในการสมานแผล (ผล,ยาง)
  41. ใช้รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง (เปลือกต้น)
  42. ช่วยแก้อาการคัน (ราก)
  43. ในอินเดียใช้รากเพื่อรักษาแผลเบาหวาน (ราก)
  44. แก้กลากเกลื้อน (เมล็ด,น้ำยาง)
  45. แก้อาการเนื้อหนังชาในโรคเรื้อน (เมล็ด)
  46. ช่วยรักษาแผลเนื้องอก (น้ำยาง)
  47. ช่วยรักษาหูด (น้ำยาง)
  48. ช่วยทำลายตาปลา และช่วยกัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต (น้ำยาง)
  49. ใช้พอกดับพิษ (ผล)
  50. ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามข้อ (ผล)
  51. น้ำของผลสามารถนำมาใช้ปรุงอาหารแทนมะนาวได้
  52. ใช้ทำเป็นผลไม้หมักดอง
  53. นำมาประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น ผัดไทยเต้าหู้มะนาวโห่ น้ำพริกเผามะนาวโห่ ฟรุ๊ตตี้ลืมหาว เป็นต้น