มะม่วงหาวมะนาวโห่
มะม่วงหาวมะนาวโห่ ชื่อสามัญ Bengal-Currants, Carandas-plum, Karanda
มะม่วงหาวมะนาวโห่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Carissa carandas L. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE)
สมุนไพรมะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นชื่อที่เพี้ยนมาจากชื่อ “มะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไม่รู้โห่” พรรณไม้ชนิดนี้มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หนามขี้แฮด (เชียงใหม่), หนามแดง (กรุงเทพฯ), มะนาวไม่รู้โห่ (ภาคกลาง), มะนาวโห่ (ภาคใต้) เป็นต้น
มะม่วงหาวมะนาวโห่จัดเป็นผลไม้สมุนไพรชนิดหนึ่ง ลักษณะของผลจะมีสีแดงเรียวเล็กคล้ายกับมะเขือเทศราชินี สำหรับรสชาติของผลสุกจะออกหวานนุ่มลิ้น แต่ถ้ายังไม่สุกจีรสเปรี้ยวจี๊ดเข็ดฟัน มี ธาตุเหล็ก และ วิตามินซี สูง เมื่อกัดไปแล้วจะมียางเหนียว ๆ ฝาดคอ (เป็นผลไม้ในวรรณคดีเรื่องพระรถเมรี “นางสิบสอง” ใครเคยอ่านคงทราบกันดี)
มะนาวไม่รู้โห่ หรือ หนามแดง เป็นผลไม้ที่หลาย ๆ คนมองข้าม เนื่องจากเป็นพรรณไม้มีหนาม หลายคนไม่รู้สรรพคุณก็ฟันทิ้งกันไปส่วนใหญ่ จึงทำให้ปัจจุบันค่อนข้างหามารับประทานได้ยาก นอกจากคนที่รู้เท่านั้นที่นำมาปลูกไว้ สำหรับคนโบราณแล้วผลไม้ชนิดนี้ถือว่ามีคุณประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะเป็นมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพรซึ่งมีสรรพคุณที่หลากหลายในการช่วยซ่อมแซมร่างกายและช่วยรักษาโรคได้แทบทุกชนิด สำหรับวิธีกินก็นำมาล้างให้สะอาดแล้วรับประทานกันสดได้เลยครับ
นอกจากผลแล้วส่วนอื่น ๆ ก็ยังมีประโยชน์อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นราก ใบ ยอดอ่อน เมล็ด เนื้อไม้ และแก่น ก็ล้วนแต่มีสรรพคุณทางยาทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้กระทั่งยางก็ช่วยในการสมานแผลได้ เรียกได้ว่าแทบจะทุกส่วนจริง ๆ แล้วเราจะไม่เรียกหนามแดงว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยซ่อมแซมร่างกายได้ยังไง
สำหรับผู้ที่รับประทานผลเข้าไปแล้วประมาณ 10 นาที แล้วรู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก แสดงว่าคุณอาจเป็นโรคหัวใจโต ควรรับประทานวันละ 1 ผลเพื่อให้ร่างกายปรับสภาพจนชินก่อน เมื่อไม่มีอาการแล้วค่อยเพิ่มปริมาณเป็น 10 ผล รับประทานประมาณ 3 เดือนจะทำให้เลือดลมไหลเวียนดี โดยหญิงชายกินได้โรคภัยหายสิ้น แต่สำหรับหญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน
สรรพคุณของมะม่วงหาวมะนาวโห่
- มะม่วงหาวมะนาวโห่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอย (ผล)
- ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง (แก่น)
- แก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า (เนื้อไม้)
- เพิ่มความกระชุ่มกระชวยให้กับร่างกาย (ผล)
- ช่วยให้เจริญอาหาร (ราก)
- มีส่วนช่วยลดความอ้วน (ผล)
- ช่วยขยายหลอดเลือดป้องกันการเกิดโรคหัวใจ (ผล)
- มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (ผล)
- ธาตุเหล็กในผลมีส่วนช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ผล)
- มีส่วนช่วยรักษาโรคโลหิตจาง (ผล)
- ช่วยรักษาโรคปอด (ผล)
- ช่วยรักษาโรคถุงลมโป่งจากการสูบบุหรี่ได้ดีมาก (ผล)
- ช่วยรักษาโรคไต (ผล)
- บรรเทาอาการของโรคตับ อย่างโรคตับแข็ง (ผล)
- ช่วยรักษาโรคเกาต์ (ผล)
- ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคไทรอยด์ (ผล)
- ช่วยป้องกันโรคไหลตาย (ผล)
- ในบังคลาเทศใช้ใบรักษาโรคลมชัก (ใบ)
- มีส่วนช่วยบรรเทาอาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต มือเท้าชา (ผล)
- ช่วยบำรุงกำลัง (เนื้อไม้)
- ช่วยบำรุงธาตุ (ราก,แก่น,เนื้อไม้)
- ช่วยบำรุงไขมันในร่างกาย (แก่น,เนื้อไม้)
- ช่วยแก้ไข้ รวมถึงไข้มาลาเลีย (ราก,ใบ)
- ช่วยดับพิษร้อน (ราก)
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคภูิแพ้ (ผล)
- ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ (ผล)
- ช่วยขับเสมหะ (ผล)
- มีช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน
- แก้อาการเจ็บคอ เจ็บในปาก (ใบ)
- แก้อาการปวดหู (ใบ)
- ช่วยรักษาลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟัน สมานแผลในช่องปาก (ผล)
- ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร (ราก)
- แก้อาการท้องเสีย (ใบ)
- ช่วยรักษาโรคบิด (ใบ)
- ช่วยขับปัสสาวะ (ผล)
- ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ยอดอ่อน)
- ช่วยขับพยาธิ (ราก)
- ช่วยรักษาโรคเท้าช้าง (น้ำยาง)
- ช่วยฆ่าเชื้อ (ผล)
- ผลสุกใช้ในการสมานแผล (ผล,ยาง)
- ใช้รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง (เปลือกต้น)
- ช่วยแก้อาการคัน (ราก)
- ในอินเดียใช้รากเพื่อรักษาแผลเบาหวาน (ราก)
- แก้กลากเกลื้อน (เมล็ด,น้ำยาง)
- แก้อาการเนื้อหนังชาในโรคเรื้อน (เมล็ด)
- ช่วยรักษาแผลเนื้องอก (น้ำยาง)
- ช่วยรักษาหูด (น้ำยาง)
- ช่วยทำลายตาปลา และช่วยกัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต (น้ำยาง)
- ใช้พอกดับพิษ (ผล)
- ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามข้อ (ผล)
- น้ำของผลสามารถนำมาใช้ปรุงอาหารแทนมะนาวได้
- ใช้ทำเป็นผลไม้หมักดอง
- นำมาประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น ผัดไทยเต้าหู้มะนาวโห่ น้ำพริกเผามะนาวโห่ ฟรุ๊ตตี้ลืมหาว เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น